Step ทำ Portfolio เริ่มจาก 0 จนติดมหาลัย


ต้องเลือกก่อนว่าจะสมัครโครงการไหน? และคณะอะไร ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ทำ PORT มั่วๆ ใส่แค่ผลงานที่เคยทำ โดนคัดทิ้งแน่นอน เพราะทุกอย่าง เขาระบุรายละเอียด สิ่งที่ต้องการไว้หมดแล้ว

ต้องรู้จักรูปแบบ PORT ที่จะส่ง เพราะมีทั้งแบบที่ต้องทำตามฟอร์มมหาลัย และแบบ 10 หน้า โดยทั่วไป 10 หน้านี้ควรใส่เนื้อหาลักษณะนี้จะเพิ่มโอกาสติด 70%
– 1 เหตุผลที่อยากเข้าคณะนี้
– 2 ประวัติส่วนตัวโดยเน้นนำเสนอ ความสามารถและทักษะที่จำเป็นกับคณะ
– 3 ประวัติการเข้าค่าย อบรมกิจกรรม (จัดทำเป้นตารางเพื่อนำเสนอ)
– 4 ผลงานที่โดดเด่นที่อยากนำเสนอ
– 5 ผลงานที่ช่วยซัพพอร์ตความสามารถในคณะที่เราจะเข้า
– 6 กิจกรรมที่โดดเด่นที่อยากนำเสนอ
– 7 กิจกรรมที่ช่วยซัพพอร์ตความสามารถในคณะที่เราจะเข้า
– 8 เกียรติบัตร
– 9 หนังสือรับรองจากอาจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญ / คุณครู

– 10 ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ / อื่นๆที่ช่วย เสริมความสามารถในคณะที่เราจะเข้า

สิ่งที่ต้องทำก่อนร่าง PORT ต้องตอบคำถามพวกนี้ให้ได้ ทำพวกนี้ให้ครบก่อนเริ่มทำ PORT
– รู้จักตัวเอง เรามีดีอะไร จุดขายคืออะไร
– รู้จักคณะสาขาที่จะยื่น เขาต้องการคนแบบไหน
– ศึกษาระเบียบการ
– รวบรวมข้อมูล เอกสาร ภาพ
– จัดทำ Port/ตรวจทาน
– ให้คนรอบตัว เพื่อน ครู รุ่นพี่ ช่วยดู ว่า ” คิดว่า เป็นกรรมการจะเลือกไหม เพราะอะไร?”

– ทำ PORT ให้ตรงกับสิ่งคณะอยากจะเลือกคนแบบไหนเข้ามาเรียน

พอร์ทต้องสวยไหม ? ถึงแม้ว่าความสวยงามจะไม่ถูกบอกว่าเป็นคะแนน แต่มันมีผลอยู่บ้างแหละ มันสื่อสารถึงความตั้งใจ ใส่ใจ ใครไม่ชอบเห็นสิ่งสวยงาม? มันอาจมีอิทธิพลอยู่ลึกๆ บ้าง

แต่พอร์ทที่สวยและดี ไม่ใช่ต้องจ้างทำนะ แต่พอร์ทที่ดีคือ พอร์ทที่สื่อสารไปยังกรรมการ ว่า “เลือกเด็กคนนี้สิ”

เริ่มออกแบบ โดยเริ่มจากหาไอเดีย ตัวอย่าง PORT เพื่อดูเป็นแนวทาง อยากทำแบบไหน สไตลไหน กำหนด ธ๊มได้เลย dekshowport.com มีแบบให้ดูเยอะกดไปดูได้
เว็บที่แนะนำในการหาตัวอย่าง

– Bechance.net

ห้ามใส่แค่ชื่อภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว ในหน้าปกใบรายชื่อ ที่ให้ลงคะแนน มันเป็นภาษาไทย! Port คนสมัครเป็นร้อยเป็นพัน ชื่อใกล้เคียงกัน น้องสะกดภาษาอังกฤษ กรรมการจะต้องพยายามแปล Eng เป็น ไทย มีโอกาส พลาด หาไม่เจอ ใช้ภาษาไทยเถอะครับ
ห้ามถ่ายรูปที่สวยเกินไป หล่อเกินไปจนดูแล้วไม่เหมือนกับรูปนักเรียนที่ส่งไปสมัคร เพราะนอกจากจะทำให้ดูไม่ออกแล้ว มีโอกาสทำให้อาจารย์ลงคะแนนพลาด หรือหารายชื่อ หรือ เกิดความไม่แน่ใจว่าใช้นักเรียนคนนี้ไหม

กำหนดสี PORT ที่ต้องการโดยปกติแล้วสี “ไม่เคยถูกระบุในระเบียบการ” ว่าให้ใช้สีไหนดั้งนั้นสามารถใช้สีไหนก็ได้ไม่ได้มีส่วนในการให้คะแนนมากนัก แต่หากนักไม่ออกมีไอเดียตามนี้
– สีมหาลัย – สีประจำคณะ – สีที่ชอบ -สีนำโชค
แต่ทั้งนี้สีควรจะเลือกใช้เพียง 3 สีตามหลักการออกแบบเพราะหากเยอะกว่านี้จะทำให้ PORT ดูลายตาและแย่งกันเด่นจนเกินไป
เรื่องสีมหา’ลัย สีคณะ โลโก้มหาลัย

อยากจะเอาใจกรรมการ อย่าไปซีเรียสมาก เน้นออกมาแล้วสื่อสารความเป็นเรา และสอดคล้องกับคุณสมบัติ สิ่งที่คณะนั้นๆ ตามหา สำคัญกว่า

ก่อนทำต้องจัดหน้ากระดาษ โดยส่วนมากมือใหม่ทำ PORT จะละเลยคือ จะต้องเว้นระยะห่างจากขอบทั้งหมด 2 – 5 CM เพื่อเว้นสำหรับเข้าเล่ม และเว้นสำหรับเพื่อความสวยงาม

ขนาด Font แนะนำ 12 – 16 pt กำลังเป็นขนาดที่เหมาะสมและตัวอักษรควรอ่านชัด เข้าใจง่าน ไม่อ่านยากจนเกินไป
แนะนำ Font ที่ใช้ปิดงานได้
-PK Maehongson
-Sukhumvit
-FC iconic
-FC Hype
-FC Lamoon
-Casanova

-TH Sarabun New

ลงมือทำ โดยใช้ แอพ หรือโปรแกรมที่ถนัดในการทำ โดยส่วนมากมีที่นิยมทั้งหมด 3 ตัวด้วยกัน
– CANVA ใช้งานง่าย มี icon และกราฟิกให้เลือกเยอะ สามารถส่งต่อออนไลน์ เปิดออนไลน์ได้ง่าย แต่อาจจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง ตามเท่าที่เว็บสามารถทำได้
– Photoshop ใช้งานยาก แต่เป็นเครื่องมือสำหรับมืออาชีพที่นิยม หลายส่วนต้องตกแต่งเองและหาภาพเองแต่ข้อดีคือสามารถทำได้ทุกอย่างตามใจคิด

– Power Point หลายคนที่ถนัดก็จะชอบทำเพราะเนื่องจากใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่

เช็คก่อนพิมพ์ PORT ปกติเวลาส่ง PORT ส่วนมากนิยมเป็นแบบ Online เกือบหมดแล้ว ดังนั้นหากพิมพ์ PORT จะต้องเสียค่าใช้จ่าย 500 – 1000 บาทพี่เองไม่อยากให้น้องเสียตังเก้อ ดังนั้นเช็คดีว่าต้องพิมพ์ไหม ถ้าไม่พิมพ์ก็ส่งเป็นไฟล์ PDF
คนที่มีดี เก่ง กิจกรรมเลิศ แต่ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่มีนั้น ออกมาได้ ผ่าน #Portfolio ให้กรรมการเห็น ก็อาจไม่ใช่ผู้ผ่านคัดเลือกในรอบนี้ เช่นเดียวกันกับบางคนอาจไม่ใช่เก่งที่สุดแต่สื่อสารสำเร็จ ก็มีโอกาสเช่นเดียวกัน

กดแชร์ ไว้อ่านอีกรอบ